ทำไมการเข้าหัวสายแบบปอกทองแดงออกมามากขนาดนี้ ถึงไม่ควรทำ

2444

ต้องบอกว่า สาย LAN ในยุคปัจจุบัน แบกรับการส่ง Data ที่เร็วขึ้นมากกว่าเดิมมากๆ และนอกจากส่ง Data ยังมีเรื่องของการส่งไฟฟ้าผ่านระบบ PoE ด้วย

เวลาที่ไฟฟ้าวิ่งผ่านสายไฟ มันจะมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกมาจากสาย ซึ่ง คลื่นเหล่านี้ จะรบกวนสัญญาณในสาย ทำให้เวลาส่ง Data ไปทางสาย มันจะเกิด Noise ออกมา ซึงเราเรียกคลื่นรบกวนพวกนี้ว่า Cross Talk

ซึ่ง Crosstalk พวกนี้จะรบกวนการส่งข้อมูล ทำให้เวลาเราส่งข้อมูลผ่านสาย LAN ถึงแม้ว่าสายจะเขียน Spec เอาไว้ว่า ส่งข้อมูลได้ถึง 10Gbps แต่ถ้าโดน Crosstalk เยอะๆ มันจะไม่มีทางทำได้เลย

แล้วเราจะแก้ปัญหายังไงดี

ทางผู้ผลิตเค้าแก้ปัญหา Crosstalk ในสายมาอยู่แล้ว ด้วยการตีเกลียวสายไปกับคู่สัญญาณของมันครับ ทำให้มันหักล้างค่า Crosstalk ในสายโดยอัตโนมัติ

ซึ่งการหักล้างตรงนี้ มันจะมีระยะตีเกลียวที่เหมาะสมอยู่

สายดีๆ เค้าก็จะมีระยะเกลียวที่ถูกต้อง
สายห่วยๆ เน้นประหยัด ระยะเกลียวก็จะไม่ถูกต้อง เพราะถ้าเกลียวถี่ มันเปลืองทองแดงค่าสายนั่นเอง

นอกจากนั้น สิ่งที่ทำให้ค่า Crosstalk ไม่เพิ่มขึ้น ก็คือ การเข้าหัวที่ถูกต้อง การที่เราไปคลายเกลียวสายออก เพื่อเข้าหัว เราจะต้องตัดให้พอดี และเอาเข้าหัวสายให้พอดี เพราะหัวสาย มันจะมีพลาสติก คั่นระหว่างเส้นเพื่อป้องกัน Crosstalk อยู่แล้ว

ถ้าจากในรูป เราไปคลายเกลียวมันออกมาซะขนาดนั้น ผลก็คือ ค่า Crosstalk จะเพิ่มเยอะมากจนทดสอบระบบไม่ผ่าน

แถมเข้าหัวสายแบบนี้ ตัวหัว LAN ที่มันมีเขี้ยวเพื่อจิกกับปลอกสาย LAN ก็จะจิกสายไม่ได้ ทำให้ใช้ไปไม่นาน หัว LAN ก็จะหลุดออกมาครับ

อ.ศุภเดช / Certified Mikrotik Trainer No. 600 MTCNA / MTCRE / MTCWE / MTCUME / MTCTCE / MTCIPv6E / MTCSE UEWA / DCNA / LNFT2 Expert in Mikrotik and UBIQUITI