กฏ Backup 3-2-1 ที่คนทำงาน IT ควรทำอย่างสม่ำเสมอ

21366

สวัสดีครับ… อาจารย์ศุภเดชครับ

กฏการ Backup 3-2-1 เป็นกฏการ Backup พื้นฐานที่ออกแบบให้ข้อมูลที่เรา Backup ออกมาปลอดภัยแบบปลอดภัยจริงๆ ซึ่ง หลายๆคนก็อาจจะมีวิธี Backup ที่ตัวเองทำกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเราใช้วิธี Backup 3-2-1 เข้ามาเสริม จะทำให้ข้อมูลของเราปลอดภัยมากขึ้นครับ

3 – 2 – 1 หมายถึงอะไร 

3 หมายถึง ให้คุณมีข้อมูลสำรอง อย่างน้อย 3 ชุด

2 หมายถึง ข้อมูลที่สำรองออกมา 2 ชุดนั้นให้อยู่กันคนละ Media (เช่น Harddisk คนละลูก)

1 หมายถึง ควรเก็บ Media นึงที่เรา Backup เอาไว้ นอกสถานที่ที่มันอยู่  เช่นเอาไปเก็บในธนาคาร / บ้านเจ้านาย / บน Cloud อะไรแบบนี้ 

ซึ่งเทคนิค Backup 3-2-1 เนี่ย มันก็แล้วแต่แนวทาง ความสะดวก และงบประมาณนะครับ

ยกตัวอย่างเช่น

  • พนักงานทำงานในเครื่องตัวเอง
  • จากนั้นก็สำรองข้อมูลลง File Server
  • ที่ File Server เราเอา External Harddisk เสียบเอาไว้ ตั้ง Script ให้ AutoBackup ลง Harddisk ลูกนี้ทุกวัน
  • และ External Harddisk สำหรับ Backup จะมี 2 ลูก โดยที่ทุกวัน หัวหน้าแผนก IT ก็เป็นคนเอา Harddisk สำรองกลับไปสลับที่บ้าน อะไรทำนองนี้

เราก็จะมี

3 ชุดข้อมูล ซึ่งอยู่ใน เครื่องพนักงาน , File Server และ External Harddisk

บน 2 Media นั่นก็คือ File Server และ External Harddisk

และ 1 Off Site นั่นก็คือ External Harddisk ที่จะถูกสลับไปเก็บไว้ทุกวันนั่นเอง

วิธีนี้ก็เป็น 3-2-1 เหมือนกันครับ แต่ถ้าเกิดหัวหน้าแผนก IT ลืมสลับ Harddisk แล้วเกิดมีปัญหา ก็อาจจะมีอาการ Data ขาดช่วงเหมือนกัน อะไรแบบนี้

หรือที่ผมทำเองใช้งานอยู่ตอนนี้ก็คือ

  • ตั้ง Script สำรองข้อมูลเข้ามาใน NAS
  • แล้ว NAS ของผมสามารถ Link กับ Google Drive / Dropbox ได้
  • ทุกครั้งที่ Data Update ก็จะมีการ Update Realtime ขึ้นไปเก็บบน Google Drive / Dropbox
  • เวลามีปัญหาก็ไปเอาข้อมูลใน NAS หรือไม่ก็บน Cloud ได้ครับ

ซึ่งการ Backup แบบ 3-2-1 เนี่ย จะทำให้ตัวข้อมูลมีความปลอดภัยจริงๆ เพราะมันมีการเก็บข้อมูลสำรอง 1 ชุดออกไปไว้นอก Site เพราะผมเองก็เคยเจอเคสที่ ลูกค้าโทรมาบอกว่า Office ข้างๆไฟไหม้ ทำยังไงถึงจะ Backup Data ออกไปให้เร็วที่สุดเหมือนกันนะ

อย่างไรก็ตาม ความต่อเนื่องของข้อมูล ก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการ Backup โดยปกติ ถ้าองค์กรไม่ใหญ่ มีข้อมูลไม่เยอะ การสำรองก็ทำแค่วันละครั้ง แต่ถ้าเกิดเป็นระบบ Online ที่ทำงาน 24 ชม. ก็ต้องทำ Replicate Database ออกไปแบบ realtime ให้ได้ ไม่งั้น Data ขาดช่วงหมดครับ

แต่สิ่งสำคัญพอๆกับการ Backup นั่นก็คือ การทดลอง Restore สิ่งที่เรา Backup นะครับ ถ้า Restore มาแล้วใช้ไม่ได้ จะได้รู้ตัวแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่ Backup มาเป็นปี พอถึงคราวมีปัญหา อ้าว Script Backup ทำผิด อะไรแบบนี้!!

อ.ศุภเดช / Certified Mikrotik Trainer No. 600 MTCNA / MTCRE / MTCWE / MTCUME / MTCTCE / MTCIPv6E / MTCSE UEWA / DCNA / LNFT2 Expert in Mikrotik and UBIQUITI