เครื่องทดสอบสาย LAN แบบแพงๆ มันทำอะไรได้ แล้วค่าที่อ่านได้แต่ละค่า มันหมายถึงอะไร?

เวลาทำงานด้าน Network เนี่ย นอกจากเครื่องมือประเภท Notebook หรือ Software สำหรับบริการจัดการแล้วก็ตรวจสอบ Network บางครั้งเราก็ต้องใช้เครื่องมือประเภทอื่นมาทดสอบงานด้านเฉพาะทางต่างๆด้วย เช่น เครื่องทดสอบสาย หรือ เครื่องทดสอบคลื่น Wireless LAN ครับ

แก้ปัญหา LINE (Login ไม่ได้ , Chat ได้ ภาพไม่มาหรือโทร Video Call ไม่ได้) ภายใต้ Network ที่ใช้อุปกรณ์ Mikrotik

เชื่อว่า ปัญหานี้คนทำระบบ Network โดยเฉพาะ Mikrotik นี่น่าจะเจอกันเยอะ ผมเจอปัญหานี้ครั้งแรกประมาณ 2-3  ปีก่อนโดยที่เจอกับ ISP นึงของบ้านเรา และลูกค้าผมที่ใช้ ISP นี้ก็เจอปัญหานี้เกือบทุกเจ้า กว่าจะหาทางแก้ได้ ก็ใช้เวลาอยู่นาน เพราะต้นตอของปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นที่ข้างเรา แต่มันก็พอจะมีวิธ๊แก้ไขจากข้างเราได้ระดับนึงครับ

Mikrotik Log แจ้งว่ามีคนขอเชื่อมต่อจาก IP 216.218.x.x อยู่ตลอดเวลา เราโดน Hack หรือเปล่า

สำหรับ Network Engineer ที่หมั่นเข้าไปดู Error Log ของระบบ ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่ Mikrotik เจ้าเดียวนะครับ จะ Cisco , Fortigate , Paloalto , Checkpoint ทุกเจ้าก็เจอเหมือนกันหมด

แจก Script สำหรับ Backup ไฟล์ Config Mikrotik ขึ้น Cloud ของ Mikrotik โดยอัตโนมัติ

ใน Mikrotik RouterOS 6.48.4 และ RouterOS 7rc1 มีการเพิ่มความสามารถ Cloud Backup ขึ้นมาให้เราใช้งานนะครับ โดยที่ความสามารถนี้ จะให้เราสามารถโยน Backup File ของ Mikrotik ขึ้นไปเก็บบน Cloud ของทาง Mikrotik ได้จำนวน 1 ไฟล์ด้วยกัน

Band Steering คืออะไร และทำงานยังไง

 
ถ้าใครซื้อพวก Wireless Router ที่มันใหม่ๆหน่อย จะมีความสามารถข้างกล่องเขียนว่า Band Steering แล้วก็บอกว่า มันจะทำให้คุณใช้ WIFI ชื่อเดียว แล้วช่วยทำให้ Client ที่ต่อ สามารถต่อกับ WIFI 5ghz เพื่อให้คุณใช้ Bandwidth ที่ดีได้ตลอดเวลาเลยนะ
 

เล่าเรื่องระบบจ่ายไฟผ่านสาย LAN (PoE) แบบเข้าใจง่าย

ระบบจ่ายไฟฟ้าผ่านสาย LAN หรือ Power Over Ethernet มีออกแบบเป็น Standard มาหลายปีแล้ว บ้านเราก็ใช้งานกันเยอะแยะ แต่อาจจะมีหลายคนงงว่าทำไมมันมีสารพัดชื่อเรียกเลย ผมเลยสรุป PoE ออกมาให้เห็นเป็นรูปแบบง่ายๆแบบนี้ครับ

PoE คืออะไร?

มาตรฐานการจ่ายไฟฟ้าผ่านสาย LAN … โดยที่มีอุปกรณ์สำหรับจ่ายไฟ (ส่วนใหญ่จะเป็น Network Switch) และ อุปกรณ์รับไฟที่ปลายทาง เช่น Access Point , IP Phone , IP Camera , FingerScan และอื่นๆอีกมากมาย

ทำไมอุปกรณ์ Network ต้องใช้ PoE ด้วยล่ะ?

  • ประหยัดเวลาและงบประมาณในการติดตั้งอุปกรณ์ เวลาเราติดตั้งอุปกรณ์บางอย่าง เช่น Access Point หรือ กล้องวงจรปิด คือ นอกจากคุณเดินสาย LAN ไปเชื่อม Network มันแล้ว การเดินสายไฟไปเพิ่มอีกเส้น ก็หมายถึงงานที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ถ้าจ่ายไฟผ่านสาย LAN ได้เพื่อให้อุปกรณ์ปลายทางทำงานได้เลย ย่อมสะดวกและประหยัดเวลากว่า
  • ดูแลระบบไฟฟ้าจากส่วนกลางที่เดียวพอ เพราะเรามีโอกาสที่จะเจอ ไฟตก หรือไฟกระชากใส่อุปกรณ์ที่เราใช้งานได้ ดังนั้นการดูแลระบบไฟฟ้า ไม่ให้มีไฟกระชาก (ติด Surge Protection) หรือไฟตก (ใส่ UPS เสริมเพื่อดันไฟขึ้น) จะช่วยให้อุปกรณ์เราไม่เสียหายได้ แต่จะให้มี UPS ทุกๆ Access Point หรือกล้องทุกตัว มันคงจะประสาทน่าดู ดังนั้น ถ้าเราทำไฟฟ้าที่ส่วนกลางให้ดี แล้วจ่ายไฟผ่าน Network Switch ไปถึงอุปกรณ์ปลายทางได้ ก็ดูแลแค่ตรงนั้นพอครับ
  • สามารถ Reboot อุปกรณ์จากฝั่ง Network Switch ได้ โดยที่ไม่ต้องปีนขึ้นไปจัดการกับอุปกรณ์ ถ้าจะให้ปีนเสาไฟขึ้นไป Reboot กล้องทุกครั้งที่กล้อง Hang จะเอาไหมล่ะครับ แต่ด้วยระบบ PoE ผมสามารถสั่งจาก Network Switch หรือ ถอดสาย LAN จากต้นทางเอาก็ได้ครับ แค่นี้ก็ reboot แล้ว

ระบบการจ่ายไฟผ่าน PoE มีกี่แบบ

มี 2 แบบครับ คือ Active กับ Passive

  • แบบ Passive จะจ่ายไฟใส่ทันที ที่เสียบสายเข้าไป ถ้าอุปกรณ์ปลายทาง ไม่รองรับการจ่ายไฟ ก็อาจจะเสียหายได้ครับ
  • แบบ Active จะมีการจ่ายไฟอ่อนๆประมาณ 5v เข้าไปยังอุปกรณ์ปลายทางก่อน ถ้าอุปกรณ์ปลายทางตอบกลับมา ก็ค่อยจ่ายไฟตามมาตรฐานจริงๆ ที่ Network Switch มันจ่ายไฟได้เข้าไปได้ครับ

เราสามารถต่อ PoE ได้แบบไหนบ้าง

ภาพแรกคือท่าปกติ ตัว Network Switch รองรับ PoE ส่ง Data + Power ไปยัง อุปกรณ์ปลายทางที่รองรับ PoE ก็เสียบสายตรงๆ อุปกรณ์ก็จะทำงานขึ้นมาตามปกตินะครับ

ภาพที่ 2 ก็คือ เรามี Network Switch ที่ไม่มีระบบ PoE เลยใช้อุปกรณ์ที่ชื่อ PoE Injector มารับไฟจากปลั๊กไฟ และรับ Data จาก Network Switch แล้วรวมสองอย่างเข้าด้วยกัน ไปยังอุปกรณ์ปลายทางที่รองรับ PoE ครับ (บ้านเราใช้ท่านี้กันเยอะครับ)

ภาพที่ 3 ก็คือตัว Switch เป็น PoE Switch ส่ง Data + Power แต่อุปกรณ์ปลายทาง ไม่รองรับการใช้งาน PoE เลยต้องใช้อุปกรณ์ PoE Splitter แยก Data กับ Power ออกจากกัน แล้วเสียบเข้ากับอุปกรณ์ปลายทางครับ

ภาพที่ 4 นี่ก็พิศดารสุดๆเลยล่ะ คือทั้งอุปกรณ์ต้นทาง และ อุปกรณ์ปลายทาง ไม่มี PoE เลยทั้งคู่ ฝั่งต้นทาง ใช้ PoE Injector ในการรวม Data กับ Power เข้าด้วยกัน พอถึงปลายทาง ก็ใช้ PoE Splitter แยก Power กับ Data ออกจากกัน แล้วก็จิ้มสายใส่อุปกรณ์

ภาพที่คุ้นเคยที่สุด ก็คือ ภาพที่ 1 กับ 2 แหละครับ แบบ 3,4 นี่ผมไม่ค่อยเห็นแล้ว

มาตรฐานของ PoE มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันมาตรฐานของ PoE มีอยู่ 3 Standard นั่นก็คือ

IEEE802.3af หรือเรียกอีกอย่างว่า PoE เฉยๆ จะมีกำลังไฟต่อ Port ไม่เกิน 15.4 Watts และแรงดันไฟฟ้าไม้เกิน 48V

IEEE802.3at หรือเรียกอีกอย่างว่า PoE+ จะมีกำลังไฟต่อ Port ไม่เกิน 30Watt และแรงดันไฟฟ้าไม้เกิน 57V

IEEE802.3bt หรือที่มีอีกชื่อว่า PoE++ มีหลาย Class ด้วยกันครับ แต่หลักๆก็จ่ายกำลังไฟต่อ Port 60 – 95 Watts และ แรงดันไฟฟ้า ไม่เกิน 57V เช่นเดียวกัน

การดู Spec อุปกรณ์ Switch PoE

สิ่งที่จะต้องดูก็คือ

  1. Switch ตัวนี้รองรับ Standard อะไรบ้าง เช่น PoE,PoE+,PoE++
  2. Switch ตัวนี้ จ่ายไฟกี่ Port เพราะมันมีนะครับ Switch PoE 24 Port แต่จ่ายไฟแค่ 16 Port อะไรแบบนี้
  3. Switch ตัวนี้ มี Power Budget เท่าไหร่ ตอนนี้ เช่น Aruba 1930 InstantOn Series ตัวนี้ แบบ 24 Port จะจ่ายไฟได้ 195 Watts และแบบ 48 Port จะจ่ายไฟได้ 370 Watts (ตรงนี้ แล้วแต่รุ่น แล้วแต่ยี่ห้อเลยครับ ต้องศึกษาเรื่อง Power Budget ดีๆนะครับ เพราะถ้าเกิดอุปกรณ์ปลายทางกินไฟมาก ก็จะทำให้จำนวน Port ที่เราใช้งานได้น้อยลงไปอีก)

ส่วนอุปกรณ์ปลายทาง ก็ต้องดูว่า มันรับไฟแบบ Active PoE หรือ Passive PoE ครับ เพราะเราเอามันมาใช้ข้ามระบบไม่ได้นะครับ แต่ก็มีอุปกรณ์บางยี่ห้อ ที่สามารถจ่ายไฟได้ 2 ระบบ คือจ่ายไฟแบบ Active หรือ Passive ก็ได้ แบบนี้ปลายทางเป็นอะไรก็ได้ แต่ถ้า Switch PoE เป็น Active แล้วปลายทางเป็น Passive เสียบไปก็บูทไม่ขึ้นนะครับ และกลับกัน ถ้า Switch จ่ายไฟแบบ Passive แล้วอุปกรณ์ปลายทางเป็น Active เสียบแล้วก็ไม่ขึ้นเหมือนกัน

เกร็ดความรู้ในการใช้งาน PoE

  • อุปกรณ์จ่ายไฟ PoE ที่ Standard ใหญ่กว่า จะรองรับรุ่นที่เล็กกว่าโดยอัตโนมัติ เช่น Switch ที่จ่ายไฟมาตรฐาน PoE+ จะเอาอุปกรณ์ปลายทางแบบ PoE+ หรือ PoE เฉยๆ ก็สามารถทำงานได้
  • Network Switch ที่จ่ายไฟได้ นอกจากดูที่ Standard ที่มันจ่ายไฟได้แล้ว ต้องดูสิ่งที่เรียกว่า Power Budget ด้วย เช่น Switch PoE 8 Port จ่ายไฟได้ 60watt แปลว่า ถ้าเอาอุปกรณ์ PoE เฉยๆมาเสียบ จะใช้งานได้ 4 ตัว แต่ถ้าเอา PoE+ มาเสียบอาจจะเหลือ 2 ตัว
  • อุปกรณ์บางตัว ตอนใช้งานกินไฟไม่เท่ากัน เช่น กล้อง CCTV ตอนเวลาปกติ อาจจะกินไฟแค่ 5-10 Watt แต่พอเปิด Infrared ที่ใช้ตอนกลางคืนอาจจะกินไฟเพิ่มมากกว่าเดิม แล้วทำให้เราประเมิน Power Budget ตอนซื้ออุปกรณ์ผิด ผลก็คือ กล้องจะติดๆดับๆ ตอนกลางคืน เพราะไฟไม่พอ
  • อุปกรณ์แบบ PoE++ สามารถจ่ายไฟได้ 2 Step เช่น จ่ายไฟไปบูท PoE Switch แล้วมีไฟให้ PoE Switch ตัวนั้น ไปจ่ายไฟให้ กล้องอีกที โดยที่ Switch ตัวที่สองไม่ต้องเสียบไฟเพิ่มเลย
  • ระบบ PoE จำเป็นที่จะต้องใช้ สาย LAN และ หัว LAN ที่ได้มาตรฐาน สายห่วยๆบางรุ่น นำไฟฟ้าไม่ได้ ต่อให้จ่ายไฟไปได้ แต่ปลายทางไฟก็ไม่ถึง ทำให้อุปกรณ์ปลายทางติดๆดับ เหมือนกัน

อุปกรณ์ Network ปลายทางหลายชิ้น พยายามเปลี่ยนตัวเองมาใช้ระบบ PoE มากขึ้น แนะนำให้ศึกษาเรื่องนี้เยอะๆ จะทำให้เราสะดวกในการทำระบบมากเลยครับ

การทำ Snapshot Replication บน Synology เพื่อป้องกัน Ransomware

สวัสดีครับ อาจารย์ศุภเดช ครับ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ Ransomware ระบาดกันหนักอีกแล้ว ซึ่งต่อให้เราป้องกัน Ransomware ได้ดีแค่ไหน มันก็โดนได้อยู่ดี เพราะส่วนใหญ่ Ransomware มันเข้ามาทางความเผลอเรอของคนที่ไม่ระมัดระวัง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือ Ransomware ก็คือ การ Backup ครับ

ถ้าเรา Backup ได้ครบถ้วน ถูกต้อง และเหมาะสม ต่อให้ Ransomware แทะข้อมูลเราหมดเกลี้ยงก็ไม่ต้องไปจ่ายมัน เพราะเราสามารถ Restore กลับคืนมาได้นั่นเองครับ

RouterOS 7.1rc กับ ความสามารถที่ทำชวนให้อัพเกรด ถึงแม้ว่าจะเป็นสถานะ Testing

สำหรับคนที่ใช้งาน อุปกรณ์ Network ของ Mikrotik จะพบว่า เราใช้งาน RouterOS เวอร์ชั่น 6 กันมานานมากแล้ว และหลายๆคนก็รอเจ้า RouterOS เวอร์ชั่น 7 ที่เรียกได้ว่า ประมาณ 3 ปีแล้วก็ไม่ออกเสียที

การตั้งค่าระบบ Auto Backup ที่อยู่ใน UNIFI Controller

สำหรับคนที่ใช้งานอุปกรณ์ UNIFI เราจะต้องควบคุมทุกอุปกรณ์ทุกอย่างผ่านอุปกรณ์ UNIFI Controller ซึ่งเมื่อเราใช้งานไปอย่างต่อเนื่องและมีการเพิ่มอุปกรณ์ขึ้นเรื่อยๆ เราจึงควรจะหมั่น Backup อย่างสม่ำเสมอเผื่อ UNIFI Controller ของเรามีปัญหา จะได้กู้เวอร์ชั่นล่าสุดมาได้ เวลาเกิดปัญหาจะได้เอาตัวรอดได้นะครับ

มีคนสอบถามมา ว่า UNIFI Controller ล่ม แล้วเค้าจะสามารถกู้ระบบยังไงได้บ้าง ซึ่ง UNIFI Controller เองจะมีระบบ Auto Backup เปิดเป็นค่า Default อยู่แล้ว โดยที่ค่า Default จะเก็บ Backup ทุกๆ 30 วัน และจะเก็บย้อนหลัง ทั้งหมด 7 ไฟล์ พูดง่ายๆก็คือ ย้อนหลังได้ 7 เดือนนั่นเองครับ

แต่ระบบ Auto Backup ก็ควรจะปรับให้มันเก็บตามเวลาอย่างเหมาะสม ถ้าคุณมีอุปกรณ์ในระบบเยอะๆ เช่น AP หรือ Switch หลายๆตัวและมีการทำพวก VLAN บ่อยๆ ควรจะเก็บให้ถี่กว่านั้น เช่น อาทิตย์ละครั้ง

หรือถ้าใครทำระบบ Hotspot เพื่อให้บริการลูกค้าด้วย ควรจะเก็บถี่ระดับหลัก วันละครั้งไปเลย เพื่อให้ข้อมูล Backup มัน Update ที่สุดนะครับ

ส่วนเวอร์ชั่นย้อนหลังว่าจะเก็บกี่เวอร์ชั่นย้อนหลัง อันนี้ก็แล้วแต่ Storage ที่เราใช้งาน รวมไปถึง คุณมีการเก็บ Statistic ของระบบมาวิเคราะห์ด้วยหรือเปล่า เพราะถ้าคุณเก็บ Stat ด้วย ไฟล์ Backup แต่ละไฟล์จะใหญ่หลัก 100-200MB เลยครับ

แต่ถ้ามีแต่ Config ขนาดก็จะประมาณ 100-200k ครับผม

ดังนั้น ถ้าคุณ เปิด Stat และ คุณมีการทำ Hotspot เอาไว้ คุณจะต้องสำรองพื้นที่ให้การ Backup ให้เยอะกว่าปกตินั่นเองครับ ซึ่งจะสอดคล้องกับ Storage ที่คุณมีด้วย

โดยทั่วๆไป ผมใช้เก็บแบบรายวัน และเก็บย้อนหลัง 7 วัน

ที่ผมเลือกเก็บ 7 วันก็เพราะว่า บางครั้ง ไฟล์ Backup มันเสีย Restore ไม่ผ่าน เลยต้องมี Backup ไว้หลายๆชุด กันเหนียวไว้ซักหน่อย

ระบบ Auto Backup จะอยู่ใน UNIFI Controller ทุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็นรุ่น Software ติดตั้งลงบน Windows,Linux รวมไปถึง Cloudkey ทั้ง Gen1 และ Gen2 

แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ Folder สำหรับเก็บไฟล์ autobackup นะครับ

Cloudkey Gen1 จะอยู่ใน Micro SD Card ที่เก็บไว้บนเครื่อง และถ้าคุณจะ ssh เข้าไปเพื่อดูดไฟล์ออกมาผ่าน Network ตัวไฟล์จะอยู่ที่ Path /data/autobackup ครับ

สำหรับ Cloudkey Gen2 จะมี Storage ในเครื่อง ทำให้คุณแกะ Storage ออกมาเพื่อก็อปไฟล์ Backup ออกมาไม่ได้ แต่คุณก็สามารถ ssh เข้าไปเอาไฟล์ได้ครับ โดยที่ Cloudkey Gen2 จะเก็บเอาไว้ที่ Path /srv/unifi/data/backup/autobackup/ ครับ

สำหรับ คนที่ใช้ Linux เป็น UNIFI Controller ตัวไฟล์จะถูกเก็บไว้ที่ Path /var/lib/unifi/backup/autobackup/

สำหรับ UNIFI Controller บน Windows จะถูกเก็บไว้ที่ Path ดังต่อไปนี้ครับ
C:\Users[UserName who installed the application]\Ubiquiti UniFi\data\backup\autobackup 

ไฟล์ Backup จะมีนามสกุล .unf ถ้าบน Linux หรือ Cloudkey แล้วหา Path ไม่เจอ ลองใช้คำสั่ง 

find / -name *.unf เพื่อค้นหาไฟล์ ในเครื่องดู บางทีมันอาจจะอยู่ที่ Path อื่นก็เป็นได้ครับ 

แต่เหนือสิ่งอื่นใด ถ้า UNIFI Controller ล่ม ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม แล้วคุณไป Format Disk มันทิ้ง หรือ Reset Cloudkey กลับสู่ Default Config ตัวไฟล์ Backup มันจะหายไปนะครับ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องหมั่นเข้าไปดูด File Backup ออกมาเก็บไว้ข้างนอกเสมอ เผื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝันอย่าง Cloudkey Firmware เจ๊ง

สำหรับ Cloudkey Gen1 อาจจะโชคดีที่มี SD Card ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการ Reset Default ของ Cloudkey แต่ SDCard เองก็ไม่ได้น่าเชื่อถือมากนัก การ์ดเจ๊งนี่ผมเจอมามากเลยทีเดียว

และ สำหรับคนที่ใช้ Cloudkey Gen2 และ UNIFI Dream Machine ที่เป็น Firmware 6.1.6 ขึ้นไป ทาง UNIFI มี Cloud Backup ให้ใช้งานด้วยครับ

หวังว่าข้อมูลตรงนี้จะช่วย กู้ชีพให้คนที่ใช้งาน UNIFI Controller ได้นะครับ

#เรื่องเล่าหลังตู้แร็ค – เจอปัญหา Access Point หลอน ไม่ได้มีใครใช้งาน แต่ความเร็วตกเหลือ 20Mbps

 
วันนี้มีปัญหาที่พิศดารมาเล่าให้ฟังเป็นเคสสำหรับคนทำเน็ตเวิร์คอีกแล้ว
เรื่องของเรื่องก็คือ ทีม #vronline ไปวางระบบให้กับ Startup รายหนึ่งชื่อว่า Storylog ที่ทำระบบเกี่ยวกับการพัฒนา Platform นักเขียน
 
ระบบมันก็ทำงานมาเรื่อยๆ จนช่วงประมาณเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา
มีแจ้งมาว่า Internet ช้าจัง ดูให้หน่อย
 
ผมก็ remote ไปดู
 
ระบบก็ปกติ … อุปกรณ์ทุกตัวทำงานปกติ ไม่มี downtime แล้วก็ มี User ใช้งาน Internet กันในระดับ 100Mbps
ก็แปลกใจ มันไม่น่าจะช้าได้นะ เลยลอง reset access Point ในโซนนั้นไป แล้วก็เหมือนเรื่องเงียบๆไป
 
ซักพัก ก็มีแจ้งมาแบบเดิมเลย
แล้วก็แก้ด้วยการ Reset AP
 
วนอย่างงี้อยู่ 3-4 รอบ

เฮ้ย มันชักทะแม่งๆแล้ว
 
เลยตัดสินใจไปดูหน้างานเลย
 
 
ในมุมของระบบที่วางไว้ ที่นี่มี Access Point 10 ตัว วางกระจายทั่วทั้ง Office และพื้นที่ห้องทำงานต่างๆ
ชั้นล่างเป็น Cafe กาแฟ สำหรับคุยงาน ชั้นบนเป็น Office ทั่วๆไป
 
Access Point ที่ติดตั้งเป็น UNIFI AC LR ที่ติดตั้งเมื่อสามปีก่อน + Mikrotik Gateway
Internet ที่ใช้เป็น MPLS ของ True ความเร็วตอนเริ่มติดตั้งคือ 100Mbps ตอนนี้ขยายเป็น 200Mbps (ไม่มี fttx เข้ามาในพื้นที่เลยต้อง
ลาก MPLS แพงๆนี่ใช้งาน)
 
โซนที่มีปัญหาเป็นโซนที่ Dev นั่งทำงาน ซึ่งกระจายๆ กันบนโต๊ะ แบบ Openspace ประมาณ 20-30 คน ทำงานทั้งบน Mac และ Windows
 
รอบล่าสุดที่ลูกค้าแจ้งปัญหามา บอกว่า speedtest ได้หลัก 2Mbps …
และผมเองก็ Remote เพื่อดูปัญหาอยู่ก็เห็นว่า Internet Bandwidth เหลือเฟือมากๆ แล้วกด speedtest ได้ 2mbps นี่แปลว่าระบบ
ภายในต้องมีปัญหาแน่ๆ
ตัว UNIFI Controller แจ้งมาว่า AP ทำงานปกติ ไม่ได้มี Disconnect แล้วก็มี สถานะ UNIFI WIFI Experience เกิน 90% สำหรับ Client ทุกตัว
 
 
ตอนผมมาถึงหน้างาน ทุกอย่างปกติมาก แต่ทุกคนบ่นอุบว่าโคตรช้า
ผมลองเอาอุปกรณ์เชื่อมต่อใน โซนนั้น แล้วก็ลองทำ Speedtest ดู ปรากฏว่าได้แค่ 20Mbps
 
เฮ้ยยยย อะไรฟระ
 
แล้วก็พอ Login เข้าไปใน UNIFI Controller ค่า Setting ที่ได้คือ ผมเชื่อมอยู่ที่ MCS7 – MCS8 ขึ้นไปด้วยซ้ำ Linkspeed อยู่เกิน 400Mbps ซะอีก (ที่นี่เปิด Bandwidth แค่ 40Mhz เพราะมี AP ในระบบเยอะ ต้องแบ่ง Channel กันใช้)
 
ลอง reboot ap ไป 1 ที
 
กลับมาต่อใหม่ ความเร็วเต็ม
 
นั่งใช้งานไปซักพัก ความเร็วตกอีกรอบ เหลือ 20Mbps
และเหมือนเดิม สถานะการเชื่อมต่อ เต็มเปี่ยม
 
เลยลองเช็คเรื่องของ Channel Utilization ดู
ก็พบว่า มี Utilization เหลือเฟือ ไม่ได้มีใครมากวนอะไร
ลอง remote ไป hard reset แล้วลอง deploy ค่า config เข้าไป ผลก็ออกมาเหมือนเดิม
 
จริงๆ อยากจะแกะมาทดสอบให้มากกว่านี้ ติดอยู่ตรงที่ว่าดันติดตั้งไว้สูงเกิน ต้องเอานั่งร้าน 2 ชั้นมาต่อเพื่อปีนขึ้นไปเอา AP ลงมานี่แหละ
 
สรุปก็คือ ฟันธงว่า AP เสีย โดยที่ไม่รู้สาเหตุ
ทีนี้ ผมเองก็ต้องไล่ทดสอบ AP ทุกตัวทั้ง 10 ตัวว่า มีตัวไหนเสียอีกบ้าง เพราะเราไม่รู้ว่ามันเสียกี่ตัวกันแน่ เพราะเสียงบ่นมันกระจัดกระจาย สารพัดแผนกมาก
 
ผมก็เลยตั้ง iperf server แล้วก็เอามือถือไล่เช็ตในโซนต่างๆ เพื่อดูว่า throughput ในแต่ละโซน มันมีตัวไหนได้ ความเร็วแย่ๆบ้าง
ผลก็คือ เสียไป 3 ตัว
เอาเป็นว่า เรื่องนี้มันเป็นปัญหาเชิงลึกที่ต้องอาศัย Engineer มาทดสอบหน้างาน ไม่สามารถที่จะแก้ด้วยการ remote ได้เลยจริงๆครับ
 
———————————————-
 
เกร็ดความรู้เพื่อการอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น
ค่า MCS ชื่อมาจาก Modulation and Coding Scheme เป็นค่าที่แทนให้เห็นถึงความเร็วในการเชื่อมต่อระหว่าง Access Point กับ Client โดยที่ แบ่งเป็น 9 ระดับ แยกกันตามความเร็วที่ Client เชื่อมต่อได้
ค่า MCS 1 คือค่าต่ำสุด และ MCS9 คือค่าสูงสุด
ค่านี้ประกอบมาจาก Client ที่มาเชื่อมต่อกับ AP มีค่าต่างๆข้างล่างนี้เท่าไหร่บ้าง เช่น
– Modulation อะไร ( 16QAM , 64QAM , 256QAM)
– Short หรือ Long Guard Interal
– Bandwidth ของการเชื่อมต่อมีกี่ Mhz
– การเชื่อมต่อ ต่อด้วย กี่ Spatial Steam
– ค่า SNR ของการเชื่อมต่อได้เท่าไหร่
แล้วก็จะแปรเปลี่ยนมาเป็นความเร็ว
เช่น
 
WIFI AC จะแบบ 2×2:2 เชื่อมต่อที่ 80Mhz จะได้ความเร็วสูงสุด MCS9 ที่ 866Mbps อะไรแบบนี้เป็นต้น
 
——————————————–
ใครที่สนใจการมาทำงาน Network Engineer ก็สามารถติดต่อ Post ของผม หรือไปอ่านเรื่องที่ผมเขียน ที่ packethunter.net ได้นะครับ
ส่วนใครที่สนใจอยากให้ทีม #vronline วางระบบให้ สามารถนัดจองคิวเพื่อทำ Site Survey ได้ที่ คุณจอย 088-874-6271 / [email protected] นะครับ